ส่องกำไรหุ้น KLINIQ ก่อนเทรดวันแรก

เรื่องที่น่าสนใจ เศรษฐกิจ (ในประเทศ - ต่างประเทศ)

 

บมจ.เดอะคลีนิกค์ คลินิกเวชกรรม (KLINIQ) เตรียมเข้าซื้อขายในตลาดหลักทรัพย์เอ็ม เอ ไอ (mai) ภายใต้กลุ่มบริการ 7 พ.ย.นี้ ด้วยราคาไอพีโอ 24.50 บาท

วันที่ 6 พฤศจิกายน 2565 บริษัท เดอะคลีนิกค์ คลินิกเวชกรรม จำกัด (มหาชน) เตรียมเข้าซื้อขายในตลาดหลักทรัพย์เอ็ม เอ ไอ (mai) ภายใต้กลุ่มบริการ 7 พ.ย.นี้ ด้วยราคาไอพีโอ 24.50 บาท โดยหนึ่งในผู้นำการให้บริการด้านผิวหนังความงาม ศัลยกรรมตกแต่งและการดูแลป้องกันฟื้นฟูสุขภาพ ภายใต้แบรนด์ “เดอะคลีนิกค์”

โครงสร้างรายได้
บริษัทสามารถจำแนกสัดส่วนของ รายได้จากการให้บริการ (“Cash sales”) เป็น 4 กลุ่ม ได้แก่

1.บริการทรีตเมนต์ (“Treatment”) ตัวอย่างคอร์สการให้บริการ ได้แก่ การนวดยกกระชับผิว การนวดหน้าโดยยาเพื่อให้ผิวยืดหยุ่นใสกระจ่าง การฉายแสงฆ่าเชื้อสิว ทรีตเมนต์รักษาสิว

2.บริการเลเซอร์ที่เกี่ยวข้องกับการทำงานของเม็ดสีและฟื้นฟูผิว (“Skin Pigmentation & Rejuvenation Lasers”) และบริการนวัตกรรมยกกระชับใบหน้า (“FaceLift Innovations”) ตัวอย่างคอร์สการให้บริการ ได้แก่ การยกกระชับหน้าด้วยคลื่นอัลตราซาวนด์ การยกกระชับผิวหนังด้วยเครื่อง Ulthera การยกกระชับผิวหนังด้วยเครื่อง Thermage FLX การรักษาหลุมสิวด้วยเครื่อง eMatrix เป็นต้น

3.บริการการดูแลรักษาด้วยกลุ่มยาฉีดทั่วไป (“Injection Therapy”) และบริการการดูแลรักษาด้วยหัตถการที่ไม่ใช่ศัลยกรรม (“Non-Surgical Make Over”) ตัวอย่างคอร์สการให้บริการ ได้แก่ การฉีดสารเติมเต็ม Volume Lift การฉีด DermoLift การสร้างกล้ามเนื้อด้วยเครื่อง Emsculpt และการลดไขมันด้วยเครื่อง CoolSculpting เป็นต้น

4.บริการเกี่ยวกับศัลยกรรม (“Plastic Surgery and Reconstruction”) เช่น ศัลยกรรมตกแต่งตา (Eye Surgery) และศัลยกรรมตกแต่งจมูก (Rhinoplasty) ศัลยกรรมตกแต่งหน้าอก (Breast Surgery) ศัลยกรรมตกแต่งดูดไขมัน (Liposuction) ศัลยกรรมจุดซ่อนเร้น (Labiaplasty) และศัลยกรรมดึงหน้า (Facial Surgery) เป็นต้น

โดยรายได้ของบริษัทสำหรับปี 2562-2564 มีรายละเอียดดังนี้

 

รายได้ของบริษัทสำหรับงวด 6 เดือนแรกของปี 2564 และงวด 6 เดือนแรกของปี 2565 มีรายละเอียดดังนี้

 

หมายเหตุ – ในปี 2562 ปี 2563 ปี 2564 งวด 6 เดือนแรกของ ปี 2564 และงวด 6 เดือนแรกของปี 2565 บริษัทมีสาขาจำนวน 25 สาขา 30 สาขา 33 สาขา 31 สาขา และ 39 สาขา ตามลำดับ

สรุปฐานะการเงินและผลการดำเนินงาน
ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2562-2564 และ 30 มิถุนายน 2565 บริษัทมีสินทรัพย์รวมจำนวน 681.79 ล้านบาท 772.09 ล้านบาท 824.69 ล้านบาท และ 1,079.35 ล้านบาท ตามลำดับ สินทรัพย์ที่สำคัญประกอบด้วย สินค้าคงเหลือ อาคารและอุปกรณ์ และสินทรัพย์สิทธิการใช้ โดยสาเหตุหลักของการเปลี่ยนแปลงในสินทรัพย์เกิดจากการเพิ่มขึ้นของอาคารและอุปกรณ์จากการซื้อเครื่องมือแพทย์เพิ่มเติมในสาขาต่าง ๆ และรวมไปถึงการลงทุนเพื่อขยายสาขาใหม

ทั้งนี้สินทรัพย์รวมของบริษัทจะมีแนวโน้มลดลง เนื่องจากคณะกรรมการบริษัทได้มีการอนุมัติการจ่ายเงินปันผล ณ วันที่ 15 สิงหาคม 2565 และ 28 กันยายน 2565 เป็นจำนวน 43.20 ล้านบาท และ 85.00 ล้านบาท ตามลำดับ

 

 

ผู้ถือหุ้นรายใหญ่
โครงสร้างผู้ถือหุ้นของบริษัท ณ วันที่ 30 มิถุนายน 2565 KLINIQ มีผู้ถือหุ้นใหญ่ 3 รายแรกหลัง IPO คือ กลุ่มทองวัฒน์ ถือหุ้น 52.35% บมจ.เอกชัยการแพทย์ ถือหุ้น 7.27% และนายรัฐพล กิตติชัยตระกูล ถือหุ้น 7.16%

 

ขายหุ้นไอพีโอ 60 ล้านหุ้น
หุ้นสามัญเพิ่มทุนจำนวน 60,000,000 หุ้น คิดเป็นร้อยละ 27.27 ของจํานวนหุ้นที่ออกและเรียกชําระแล้วทั้งหมดของบริษัท ภายหลังการเสนอขายหุ้นเพิ่มทุนในครั้งนี้ เเบ่งออกเป็น

1.เสนอขายต่อกรรมการ ผู้บริหาร และพนักงานของบริษัท จำนวนไม่เกิน 6,000,000 หุ้น คิดเป็นร้อยละ 10.00 ของจำนวนหุ้นที่ออกและเรียกชำระแล้วทั้งหมดของบริษัท ภายหลังการเสนอขายหุ้นเพิ่มทุนในครั้งนี้

2.เสนอขายต่อผู้มีอุปการคุณของบริษัท จำนวนไม่เกิน 9,000,000 หุ้น คิดเป็นร้อยละ 15.00 ของจำนวนหุ้นที่ออกและเรียกชำระแล้วทั้งหมดของบริษัท ภายหลังการเสนอขายหุ้นเพิ่มทุนในครั้งนี้

3.เสนอขายต่อนักลงทุนสถาบันและประชาชน จำนวนไม่น้อยกว่า 45,000,000 หุ้น คิดเป็นร้อยละ 75.00 ของจำนวนหุ้นที่ออกและเรียกชำระแล้วทั้งหมดของบริษัท ภายหลังการเสนอขายหุ้นเพิ่มทุนในครั้งนี

แผนระดมทุน
บริษัทมีวัตถุประสงค์ในการนำเงินที่ได้จากการเสนอขายหลักทรัพย์ครั้งนี้หลังหักค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับการเสนอขายหลักทรัพย์เป็นจำนวนเงินสุทธิประมาณ 1,420 ล้านบาท ไปใช้ดังต่อไปนี้

 

ปันผลไม่น้อยกว่า 40%
บริษัทมีนโยบายจ่ายเงินปันผลให้แก่ผู้ถือหุ้นในอัตราไม่ต่ำกว่า ร้อยละ 40 ของกำไรสุทธิจากงบเฉพาะกิจการภายหลังจากหักภาษีเงินได้นิติบุคคลและการจัดสรรทุนสำรองต่าง ๆ ทุกประเภทตามที่ได้กำหนดไว้ในกฎหมายและข้อบังคับของบริษัท ทั้งนี้ การจ่ายเงินปันผลอาจน้อยกว่าอัตราข้างต้น โดยคำนึงถึงปัจจัยต่าง ๆ เช่น ภาวะเศรษฐกิจ ผลการดำเนินงานและฐานะทางการเงินของบริษัท กระแสเงินสด เงินทุนหมุนเวียน แผนการลงทุนและขยายธุรกิจ ภาระหนี้สิน เงื่อนไขและข้อจำกัดตามที่กำหนดในสัญญากู้ยืมเงิน และความเหมาะสมอื่น ๆ โดยคณะกรรมการบริษัทจะพิจารณาอย่างระมัดระวัง